1.1 ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี
การทำปฏิบัติการเคมีส่วนใหญ่ต้องมีความเกี่ยวข้องกับสารเคมี อุปกรณ์และ
เครื่องมือต่างๆ ซึ่งผู้ปฏิบัติการต้องตระหนักถึงความปลอดภัยของตนเอง ผู้อื่น
และสิ่งแวดล้อม โดยผู้ทำปฏิบัติการควรทราบเกี่ยวกับประเภทของสารเคมีที่ใช้
ข้อควรปฏิบัติในการทำปฏิบัติการเคมี และการกำจัดสารเคมีที่ใช้แล้วหลัง
เสร็จสิ้นปฏิบัติการ เพื่อให้สามารถทำปฏิบัติการเคมีได้อย่างปลอดภัย
1.1.1 ประเภทของสารเคมี
สารเคมีมีหลายประเภท แต่ละประเภทมีสมบัติแตกต่างกัน สารเคมีจึงจำเป็น
ต้องมีฉลากที่มีข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นอันตรายของสารเคมีเพื่อความปลอดภัย
ในการจัดเก็บ การนำไปใช้ และการกำจัด โดนฉลากควรมีข้อมูลดังต่อไปนี้
1.ชื่อผลิตภัณฑ์
2.รูปสัญลักษณ์ (แสดงความเป็นอันตรายของสารเคมี)
3.คำเตือน (ข้อมูลความเป็นอันตรายและข้อควรระวัง)
4.ข้อมูลของบริษัทผู้ผลิตสารเคมี
สัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายมีหลายระบบ ในที่นี้จะกล่าวถึง 2 ระบบ
คือ GHS(เป็นระบบที่ใช้ในสากล) NFPA(เป็นระบบที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา)
เครื่องมือต่างๆ ซึ่งผู้ปฏิบัติการต้องตระหนักถึงความปลอดภัยของตนเอง ผู้อื่น
และสิ่งแวดล้อม โดยผู้ทำปฏิบัติการควรทราบเกี่ยวกับประเภทของสารเคมีที่ใช้
ข้อควรปฏิบัติในการทำปฏิบัติการเคมี และการกำจัดสารเคมีที่ใช้แล้วหลัง
เสร็จสิ้นปฏิบัติการ เพื่อให้สามารถทำปฏิบัติการเคมีได้อย่างปลอดภัย
1.1.1 ประเภทของสารเคมี
สารเคมีมีหลายประเภท แต่ละประเภทมีสมบัติแตกต่างกัน สารเคมีจึงจำเป็น
ต้องมีฉลากที่มีข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นอันตรายของสารเคมีเพื่อความปลอดภัย
ในการจัดเก็บ การนำไปใช้ และการกำจัด โดนฉลากควรมีข้อมูลดังต่อไปนี้
1.ชื่อผลิตภัณฑ์
2.รูปสัญลักษณ์ (แสดงความเป็นอันตรายของสารเคมี)
3.คำเตือน (ข้อมูลความเป็นอันตรายและข้อควรระวัง)
4.ข้อมูลของบริษัทผู้ผลิตสารเคมี
สัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายมีหลายระบบ ในที่นี้จะกล่าวถึง 2 ระบบ
คือ GHS(เป็นระบบที่ใช้ในสากล) NFPA(เป็นระบบที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา)
ตัวอย่างสัญลักษณ์ระบบ GHS
สัญลักษณ์ระบบ NFPA
นอกจากฉลากและสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายต่างๆ ที่ปรากฏบน
บรรจุภัณฑ์ของสารเคมีแล้ว สารเคมีทุกชนิดยังต้องมีเอกสารความปลอดภัย
ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้สารเคมีอย่างละเอียด เช่น
สมบัติและองค์ประกอบของสารเคมี ความเป็นอันตราย การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
1.1.2 ข้อควรปฏิบัติในการทำปฏิบัติการเคมีการทำปฏิบัติการเคมีให้เกิดความปลอดภัยนอกจากต้องทราบข้อมูลของ
สารเคมีที่ใช้แล้ว ผู้ปฏิบัติการควรทราบเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเบื้องต้นทั้งก่อน
ระหว่าง และหลังทำปฏิบัติการ ดังต่อไปนี้
ก่อนทำปฏิบัติการ
1) ศึกษาขั้นตอนหรือวิธีการทำปฏิบัติการให้เข้าใจ วางแผนการทดลอง
หากมีข้อสงสัยต้องสอบถามครูผู้สอนก่อนที่จะทำการทดลอง
2) ศึกษาข้อมูลของสารเคมีที่ใช้ในการทดลอง เทคนิคการใช้เครื่องมือ
วัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนวิธีการทดลองที่ถูกต้องและปลอดภัย
3) แต่งกายให้เหมาะสม เช่น สวมกางเกงหรือกระโปรงยาว สวมรองเท้ามิดชิด
ส้นเตี้ย คนที่มีผมยาวควรรวบผมให้เรียบร้อย หลีกเลี่ยงการสวมใส่เครื่องประดับและคอนแทคเลนส์
ขณะทำปฏิบัติการ
1) ข้อปฏิบัติโดยทั่วไป
1.1 สวมแว่นตานิรภัย สวมเสื้อคลุมปฏิบัติการ สวมถุงมือเมื่อต้องใช้สารเคมี
สวมหน้ากากที่ต้องใช้สารเคมีที่มีไอระเหย
1.2 ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม หรือกิจกรรมอื่นๆ ในขณะที่ปฏิบัติการ
1.3 ไม่ทำการทดลองในห้องปฏิบัติการเพียงลำพัง1.4 ไม่เล่นหรือรบกวนผู้อื่นในขณะทำการปฏิบัติการ
1.5 ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีอย่างเคร่งครัด
1.6 ไม่ปล่อยให้อุปกรณ์ให้ความร้อน
2) ข้อปฏิบัติในการใช้สารเคมี
2.1 อ่านชื่อสารเคมีบนฉลากให้แน่ใจก่อนนำสารเคมีไปใช้
2.2 การเคลื่อนย้าย การแบ่ง และการถ่ายเทสารต้องทำด้วยความระมัดระวัง
2.3 การทำปฏิกิริยาของสารในหลอดทดลอง ต้องห้ามหันปากหลอดทดลอง
ออกจากตัวเองและผู้อื่นเสมอ
2.4 ห้ามชิมหรือสูดดมสารเคมีโดยตรง ถ้าจำเป็นต้องทดสอบกลิ่นให้ใช้มือโบก
ให้ไอของสารเข้าจมูกเพียงเล็กน้อย
2.5 การเจือจางกรด ห้ามเทน้ำลงกรดแต่ให้เทกรดลงน้ำ เพื่อให้น้ำปริมาณมาก
ช่วยถ่ายเทความร้อนที่เกิดจากการละลาย
2.6 ไม่เทสารเคมีที่เหลือจากการเทหรือตักออกจากขวดสารเคมีแล้วกลับเข้า
ขวดอย่างเด็ดขาด ให้เทใส่ภาชนะทิ้งสารที่จัดเตรียมไว้
2.7 เมื่อสารเคมีหกในปริมาณเล็กน้อยให้กวาดหรือเช็ด แล้วทิ้งลงในภาชนะ
สำหรับทิ้งสาร หากหกในปริมาณมากควรแจ้งครูผู้สอน
หลังทำปฏิบัติการ
1) ทำความสะอาดอุปกรณ์ เครื่องแก้ว และวางหรือเก็บในบริเวณที่จัดเตรียมไว้ให้
รวมทั้งทำความสะอาดโต๊ะทำปฏิบัติการ
2) ก่อนออกจากห้องปฏิบัติการให้ถอดอุปกรณ์ป้องกันอันตราย เช่น
เสื้อคลุมปฏิบัติการ แว่นตา นิรภัย ถุงมือ
1.1.3 การกำจัดสารเคมี
1) สารเคมีที่เป็นของเหลวไม่อันตรายที่ละลายน้ำได้และมีpHเป็นกลาง
ปริมาณไม่เกิน 1 ลิตร สามารถเทลงอ่างน้ำและเปิดน้ำตามมากๆได้
2) สารละลายเข้มข้นบางชนิด เช่น กรดไฮโดรคลอริก โซเดียมไฮดรอกไซต์
ไม่ควรทิ้งลงอ่างน้ำหรือท่อน้ำทันที ควรเจือจางก่อนเทลงอ่างน้ำ ถ้ามีปริมาณมากต้องทำเป็นกลางก่อน
3) สารเคมีที่เป็นของแข็งไม่อันตราย ปริมาณไม่เกิน 1 กิโลกรัม สามารถใส่
ในภาชนะที่ปิดมิดชิดพร้อมทั้งติดฉลากชื่อให้ชัดเจน ก่อนทิ้งในที่ซึ่งจัดเตรียมไว้
4) สารไวไฟ ตัวทำละลายที่ไม่ละลายน้ำ สารประกอบของโลหะเป็นพิษ
หรือสารที่ทำปฏิกิริยากับน้ำ ห้ามทิ้งลงอ่างน้ำ ให้ทิ้งไว้ในภาชนะที่ทาง
ห้องปฏิบัติการจัดเตรียมไว้ให้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น